วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

E-book เพื่อการพยาบาล
http://www.onread.com/fbreader/800426/
1.เข้าไปที่ www.google.com เสิร์ชคำว่า e-book nursing free




2.คลิ๊กเข้าไปที่หน้า 5



3.เลือกอันที่ 4



4.จะเข้าสูหน้าเว็บของ Onread.com



5.เลื่อนไปดานล่างสุดของหน้าเว็บ คลิ๊กที่ Textbook of surgical nursing



6.คลิ๊กที่ Read online เพื่ออ่าน e-book


7.สามารถอ่าน e-book ได้เลย 

การประยุกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพยาบาล

       ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดประกอบด้วยระบบสารสนเทศ 2 ชนิดระบบ
     
       1. ระบบสารสนเทศทางคลินิก(Clinical information system)
เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผนการนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย
ตัวอย่าง

ระบบสารสนเทศทางการแพทย์
                        1.บัททึกข้อมูลทางการพยาบาล เช่น
       North American Nursing Diagnosis Association : NANDAสมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ
       Nursing Intervention Classification : NIC ใช้ตัดสินว่าจะให้การบาบัดทางการพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยเพื่อแก้/บรรเทาปัญหาทางสุขภาพ
       Nursing Outcome Classification : NOC ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน
       International Classification Nursing Practice : ICNP การใช้คามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล
                         2.มีความยืดหยุ่นในการใช้ระบบเพื่อดูข้อมูลและเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ
ระบบติดตาม (Monitor system)
 
 
 

1.เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดทางชีวภาพแบบอัตโนมัติในหน่วยวิกฤต และหน่วยเฉพาะโรค
2.รูปแบบของระบบติดตาม
การเตือนเมื่อพบสิ่งที่ผิดปกติ
1.ระบบติดตามแบบเคลื่อนที่
2.การบันทึกสิ่งค้นพบที่ผิดปกติ
3.สามารถถ่ายโอนข้อมูลผู้ป่วยเข้าไปสู่ระบบอื่นได้ เพื่อที่จะได้มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  


ระบบห้องปฏิบัติการ (Laboratory system)


1.บันทึกข้อมูลผลการตรวจต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการ
2.สามารถเข้าถึงผลการตรวจได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
3.ช่วยลดความผิดพลาดในการายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดจากคน ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา 

ระบบรังสี (Radiology system)


1.เก็บข้อมุลเป็นภาพดิจิตอลแทนฟิล์มรังสีแบบเดิม
2.สามารถเข้าถึงข้อมูลภาพทางรังสีได้อย่างรวดเร็วขึ้น
3.สามารถส่งต่อภาพรังสีไปยังแหล่งอื่นๆ เพื่อส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลอื่น ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูล x-ray ของโรงพยาบาลศิริราชระบบ SIPACS 

ระบบเภสัชกรรม (Pharmacy system)


                                        

1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา
2.สามารถเข้าถึงประวัติผู้ป่วยและการให้ยาได้ รวมทั้งประวัติการแพ้ยาและข้อมุ,ส่วนบุคคล
3.ช่วยแพทยืในการตัดสินใจว่ายาตัวไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
4.การคำนวณการใช้ยา ค่าใช้จ่ายและออกใบเสร็จรับเงิน

ระบบประชุมทางไกล (Video Conference)

ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)

ระบบ TeleradiologyTeleDiag คือ Teleradiology ของคนไทย ที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย เป็นระบบ Telemedicine ที่สนับสนุนงานด้านรังสีวินิจฉัย การอ่านและวินิจฉัยผลในระยะไกล จากเครื่อง x-ray computer เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการในด้านการ วินิจฉัยสุขภาพอย่างทั่วถึง ปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นผลงานการพัฒนาของ บริษัท โปรดิจิส์ จำกัด(www.prodigi.co.th)
       ระบบ Telecardiology เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 

ระบบ Telepathology   ระบบ Telepathology เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

 
 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
 
 
 
คติธรรม : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
 
 
       มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน นักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเอง ว่า "ลูกพระนาง" ซึ่งพระนางในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

       มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

       ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา"

       ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา
 

ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9
 
ตรา "ส มงกุฎ" ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
 
 
 


 ปรัชญา

ปรัชญา : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม


เป้าหมายและวิสัยทัศน์

เป้าหมายและวิสัยทัศน์ : มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อปวงชน

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

- ร่มโพธิ์ทอง

- มาร์ชสวนสุนันทา


สีประจำมหาวิทยาลัย

สีน้ำเงิน หมายถึง สีประจำองค์พระมหากษัตริย์

สีชมพู หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
       ดอกแก้วเจ้าจอมต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ แก้วเจ้าจอมเพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525

ดอกแก้วเจ้าจอม


 

การจัดการศึกษา
                มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนครอบคลุมในหลายสาขาวิชาอาทิ การศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาการจัดการ ศิลปกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่
ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป.1 - ป.6)
ระดับมัธยมศึกษา (ชั้น ม.1 - ม.6)
ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี - ปริญญาเอก)
                ทั้งนี้ ได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้ง หลักสูตร ภาคภาษาไทย และ ภาคภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และปริญญาตรี
 
                ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะมีดำเนินการเรียนการสอนตามปฏิทินมหาวิทยาลัยสากล (เริ่มเรียนภาคเรียนแรกของปีการศึกษาช่วงเดือนสิงหาคม)
 
ทำเนียบผู้บริหาร
 
รศ.ดร.ฤๅเดช  เกิดวิชัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    รศ.พิเศษ ดร.วิเชียร   ศรีพระจันทร์
    รองอธิการบดีฝ่ายบริหารระดับการศึกษา
    อ.ดร.สมเดช   รุ่งศรีสวัสดิ์
    รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

    

    รศ.ธีระดา   ภิญโญ
    รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพประวัติการศึกษา



    ผศ.ดร.ไพบูลย์   แจ่มพงษ์
    รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาการศึกษา


    รศ.พิศณุ   พูนเพชรพันธุ์
    รองอธิการบดีฝ่าย กิจการสภามหาวิทยาลัย


    

    อ.ดร.วิทยา   เมฆขำ
    รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา
     


    เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


    เว็บไซต์คณะและวิทยาลัย


           สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
           สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร
           สาขาวิชาการออกแบบกราฟิกและมัลติมีเดีย

           สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์                                                                                        
           สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
           สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานสถาปัตยกรรม
           สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
           สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
           สาขาวิชามาตรวิทยาและระบบคุณภาพ
           สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
           สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายในและการจัดการนิทรรศการ
           สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
           สาขาวิชาออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

           สาขาวิชาการบัญชี
           สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
           สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
           สาขาวิชาการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด
           สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
           สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
           สาขาวิชาการตลาด
           สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ
           สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ
           สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
           สาขาวิชาการแพร่ภาพและเสียงผ่านสื่อใหม่
           สาขาวิชาการภาพยนต์และการสื่อสารการแสดง
           สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
           สาขาวิชาภาพเคลื่อนไหวและสื่อผสม
           สาขาวิชาวารสารสนเทศ
           สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง
           สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์